การโคลนนิ่งสัตว์ (Animals Cloning)
การโคลนนิ่งสัตว์ คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาที่มี รูปร่าง, หน้าตา, ลักษณะต่างๆ, พันธุกรรม รวมถึงเพศ เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นต้นแบบ หรือ เรียกได้ว่า ถอดแบบกันออกมา
ขั้นตอนการโคลนนิ่ง
การโคลนนิ่งสัตว์ ที่เกิดจากการโคลนนิ่ง(cloning)โดยใช้เซลล์จากตัวอ่อนของสัตว์ ทำให้มีเกิดลูกสัตว์ที่เกิดจากการโคลนนิ่ง(cloning)หลายชนิด มีทั้ง หมู โค กระต่าย แพะ แกะ แต่ยังไม่เคยมีลูกสัตว์ที่เกิดจากการโคลนนิ่ง(cloning)ด้วยนิวเคลียส(nucleus)จากเซลล์ร่างกาย(somatic cell) จนกระทั้งในปีพ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) Wilmut และคณะ ได้ทำการโคลนนิ่ง(cloning)ด้วยนิวเคลียส(nucleus)จากเซลล์ร่างกาย(somatic cell)ได้ประสบความสำเร็จ ด้วยการโคลนนิ่ง(cloning)ให้เกิดแกะชื่อ ดอลลี่ (dolly) ด้วยเซลล์เต้านม ด้วยการโคลนนิ่ง(cloning)ที่ใช้วิธีการเดียวกันนี้ แกะดอลลี่ (dolly)เป็นเพียงตัวเดียวที่ได้จากตัวอ่อนจำนวน 273 ตัว
การโคลนนิ่งสัตว์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer or nuclear transplantation)
2.การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomere separation or embryo bisection)
ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง
1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้น ได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
2. ช่วยในการทดลองทางการแพทย์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองเป็นจำนวนมาก
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อเป็นรูปแบบในการทดลองเพื่อรักษาโรคของมนุษย์
4. คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
5. เพื่อเป็นการผลิตอวัยวะของสัตว์เพื่อการย้ายฝาก
6. ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
7. ช่วยในการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆด้วยเทคโนโลยีการสอดแทรกยีน
8. ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีนและการจำแนกชนิดของเซลล์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่นในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิดการทำงานของยีน จะสามารถรักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมองแบ่งทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ทำหน้าที่ทดแทนได้
2. ช่วยในการทดลองทางการแพทย์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองเป็นจำนวนมาก
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อเป็นรูปแบบในการทดลองเพื่อรักษาโรคของมนุษย์
4. คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
5. เพื่อเป็นการผลิตอวัยวะของสัตว์เพื่อการย้ายฝาก
6. ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
7. ช่วยในการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆด้วยเทคโนโลยีการสอดแทรกยีน
8. ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีนและการจำแนกชนิดของเซลล์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่นในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิดการทำงานของยีน จะสามารถรักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมองแบ่งทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ทำหน้าที่ทดแทนได้
อ้างอิง
http://iam.hunsa.com/joannnarak6539/article/6246
http://202.57.163.117/forum.php?exForumId=30
http://www.dld.go.th/airc_urt/th/index.php?
http://202.57.163.117/forum.php?exForumId=30
http://www.dld.go.th/airc_urt/th/index.php?
เข้าถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2555
เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกาคม 2556
เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น